สำรวจพฤติกรรมและแนวโน้ม การรับฟังสื่อทางเสียงของคนไทย ปี 2562

กสทช.

ผลสำรวจพฤติกรรมการรับฟังสื่อทางเสียง ปี 2562 พบว่า วิทยุ FM ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วประเทศ เกือบร้อยละ 90 โดยที่ช่วงอายุมีผลต่อพฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุ กล่าวคือ กลุ่มอายุมากมีความสนใจ รับฟังรายการข่าว ในขณะที่กลุ่มอายุน้อยสนใจรับฟังรายการบันเทิง มากที่สุด ทั้งนี้ในส่วนของการรับฟังเพลง ออนไลน์และมิวสิคสตรีมมิ่งพบว่า โทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางการรับฟังที่สำคัญมากที่สุด

โครงการสำรวจพฤตกิรรมและแนวโนม้การบริโภคสื่อของไทย ปี 2562 จัดทำโดยสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียง และโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ร่วมกับสถาบันอา ณาบริเวณ ศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ จากพื้นที่ 5 ภูมิภาคตามเกณฑ์ของสานักงานสถิติ แห่งชาติ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่จังหวัดที่เป็นตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จานวน 26 จังหวัด โดยการสำรวจครอบคลุมพฤติกรรม การบริโภคสื่อภาพเคลื่อนไหว การบริโภคสื่อทางเสียง การบริโภคสื่อออนไลน์ การบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์ การบริโภคสี่อในโรงภาพยนตร์ และการบรโภคสี่อ กลางแจ้งและสี่อกลางแจ้งแบบเคลื่อนที่ได้ ซึ่งบทความฉบับนี้จะครอบคลุมถึง ภาพรวมการรับฟังสื่อทางเสียงเท่านั้น

ทั้งนี้ในการสารวจพฤติกรรม “สื่อทางเสียง” หมายถึง การรับฟังรายการวิทยุ การฟังเพลงออนไลน์ และ มิวสิคสตรีมมิ่ง (Music Streaming)

จากการสำรวจพฤติกรรมจากกลุ่มตัวอย่าง 10,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ พบว่า มีผู้รับฟังสื่อทางเสียง ที่รวมถึงการรับฟังรายการวิทยุการฟังเพลงออนไลน์ และมิวสคิสตรีมมิ่ง (Music Streaming) จำนวนร้อยละ 55.6 หรือ 5,564 คน ในขณะที่ ร้อยละ 44.4 ไม่มีการรับฟังสื่อทางเสียง

ในจำนวนกลุ่มผู้รับฟังสื่อทางเสียงทั้งหมด 5,564 คนทั่วประเทศนั้น ได้แบ่งประเภทของกลุ่มที่รับฟังสื่อ ทางเสียงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มที่รับฟังวิทยุอย่างเดียวมีจำนวน 1,815 คน หรือร้อยละ 32.6 กลุ่มที่ฟัง เพลงออนไลน์ หรือ มิวสิคสตรีมมิ่งอย่างเดียวจำนวน 1,909 คน หรือร้อยละ 34.3 และกลุ่มที่ฟังทั้งสองประเภท จำนวน 1,840 คน หรือ ร้อยละ 33.1

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่🖥 https://bit.ly/38OpNnw

ที่มา : สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียง และโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.

Tagged