สํารวจพฤติกรรมและแนวโน้มการรับชม TV ของคนไทย ปี 2562

กสทช.

สำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการรับชม สื่อภาพเคลื่อนไหวของคนไทย ปี 2562 เทคโนโลยีและช่วงอายุของผู้ชมโทรทัศน์ มีผลต่อความนิยมในการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหวของคนไทย ในปี 2562 โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นเครื่องมือในการรับชมรายการโทรทัศน์สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่กลุ่มคนที่มีอายุ 57 ปีขึ้นไป (กลุ่ม Baby Boomer และ Generation G.I.) ยังคงบริโภคสื่อในรูปแบบดั้งเดิมค่อนข้างมาก ในขณะที่กลุ่มคนในเจเนอเรชั่นวาย และแซด นิยมบริโภคสื่อแบบ On Demand ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ มากขึ้น

โครงการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทย ปี 2562 จัดทำโดยสำนักนโยบายและวิชาการ กระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ร่วมกับสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนิน การสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 5 ภูมิภาคตามเกณฑ์ของสำนักงาน สถิติแห่งชาติ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่จังหวัดที่เป็นตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 26 จังหวัด ทั้งนี้ การสำรวจครอบคลุมพฤติกรรม การบริโภคสื่อภาพเคลื่อนไหว การบริโภคสื่อทางเสียง การบริโภคสื่อออนไลน์ การบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์ การบริโภค สื่อในโรงภาพยนตร์ และการบริโภคสื่อกลางแจ้งและสื่อกลางแจ้งแบบเคลื่อนที่ได้ ซึ่งบทความนี้จะครอบคลุมถึง สื่อเคลื่อนไหวเท่านั้น ทั้งนี้ ในการสำรวจพฤติกรรมสื่อภาพเคลื่อนไหวหมายถึง รายการโทรทัศน์ ทั้งรายการปกติซึ่งรับชมสด ตามตารางการออกอากาศ/ผังรายการ และการรับชมย้อนหลังหรือรับชมตามความต้องการ รวมถึงการรับชมวิดีโอ ตามความต้องการหรือวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ นอกจากนี้ ในการสำรวจครั้งนี้ ได้มี

การแบ่งกลุ่มอายุของกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

จากการสำรวจพฤติกรรมการรับชมรายการสื่อภาพเคลื่อนไหวโดยรวมของผู้ชมทั่วประเทศพบว่า อุปกรณ์ หลักที่ผู้ชมใช้รับชมคือ เครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล 33.6% โทรศัพท์เคลื่อนที่ 27.2% เครื่องรับโทรทัศน์แอนะล็อก 20.1% สมาร์ททีวี 11.1% ที่เหลือเป็นการรับชมผ่านทางคอมพิวเตอร์ทั้งตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์พกพา (โน๊ตบุ๊ก) รวมกัน 8% ในส่วนสถานที่รับชมนั้น ส่วนใหญ่เป็นการรับชมจากที่พักถึง 93.6% ที่เหลือเป็นการรับชมจากที่ทำงาน 4.9% รับชมระหว่างเดินทาง และสถานที่อื่นๆ 1.2% และ 0.3% ตามลำดับ สำหรับระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหว พบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่ใช้เวลามากกว่า 2-4 ชั่วโมง ต่อวัน เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดถึง 36.9% รองลงมาเป็นการใช้เวลารับชม 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ในสัดส่วน 32.6% ในขณะ ที่กลุ่มผู้ชมที่ใช้เวลามากกว่า 4-6 ชั่วโมงต่อวันมีสัดส่วน 15.6% กลุ่มที่เหลืออื่นๆ ใช้เวลามากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ในสัดส่วน 7.9% และ 7.0% ตามลำดับ ทั้งนี้ช่วงเวลาในการรับชมของผู้ชมส่วนใหญ่ กระจุกตัวอยู่ในช่วงเวลา 18.01-22.00 . ที่มีสัดส่วนสูงถึง 70.9% เนื่องจากเป็นช่วงเวลาหลังเลิกงาน ผู้ชมมีเวลา ว่าง จึงมีความสะดวกในการรับชมทีวีสูงสุด ในขณะที่ช่วงเวลาอื่นๆนั้น มีสัดส่วนการรับชมใกล้เคียงกัน ได้แก่ ช่วง เวลาตั้งแต่ 10.01-14.00 . และ 22.01-02.00 . ในสัดส่วน 7.8% เท่ากัน โดยช่วงเวลาที่มีผู้รับชมทีวีน้อยที่สุด เป็นช่วงเวลา 02.01-06.00 . ที่เป็นช่วงเวลานอนพักผ่อน มีสัดส่วนผู้ชมทีวีอยู่เพียง 0.3% เท่านั้น พฤติกรรมการรับชมรายการย้อนหลัง หรือออนดีมานด์ (On Demand) เทคโนโลยีและการขยายการครอบคลุมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในเรื่องความครอบคลุมในการเข้าถึง ความเร็วของสัญญาณ และประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล ทำให้ผู้ชมมีทางเลือกมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมการ รับชมรายการตามความต้องการหรือออนดีมานด์ (On Demand) เติบโตสูงขึ้น อย่างไรก็ดี จากการสำรวจในครั้ง นี้พบว่า ผู้ชมรายการส่วนใหญ่กว่า 84.9% ยังคงรับชมรายการสดตามตารางการออกอากาศของ สถานีโทรทัศน์ โดย 49.9% เป็นผู้รับชมสดตามตารางการออกอากาศเท่านั้น และอีก 35% เป็นการรับชมสดตามตารางการออก อากาศควบคู่ไปกับการรับชมแบบ On Demand ขณะที่ 15.1% เป็นการรับชมแบบ On Demand เพียงอย่าง เดียวเท่านั้น ซึ่งผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความสำคัญของกิจการโทรทัศน์ที่ออกอากาศตามผังรายการ ปกติที่ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อประชาชนในยุคของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

หากพิจารณาจากช่วงกลุ่มอายุพบว่า รูปแบบของการรับชมตามตารางการออกอากาศยังคงได้รับความนิยม สูงในกลุ่มเจเนอเรชัน เอกซ์ ขึ้นไป กล่าวคือ เจเนอเรชัน จี.ไอ. ที่มีอายุมากกว่า 76 ปีขึ้นไป นิยมการรับชมสดตาม ตารางที่ออกอากาศมากที่สุดถึง 97.1% รองลงมาเป็นกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 85.3% เจเนอเรชัน เอกซ์ 65.6% และ เจเนอเรชัน วาย 41.0% โดยที่กลุ่มเจเนอเรชัน แซด เป็นกลุ่มที่รับชมรายการสดน้อยที่สุด และในทางกลับกัน การรับชมรายการแบบย้อนหลัง และ On Demand นั้น ได้รับความนิยมสูงสุดจากกลุ่ม เจเนอเรชัน แซด มากที่สุดถึง 28.5% รองลงมาเป็นกลุ่มเจเนอเรชัน วาย 17.9% กลุ่มเจเนอเรชัน เอกซ์ 6.7% และ กลุ่มเบบี้ บูมเมอร์เพียง 1.9% โดยที่กลุ่มเจเนอเรชัน จี.ไอ. ไม่นิยมการรับชมย้อนหลังหรือแบบ On Demand เลย

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า รูปแบบของการรับชมตามตารางออกอากาศได้รับความนิยมสูงในกลุ่มตั้งแต่ ช่วงวัยของกลุ่มเจเนอเรชัน เอกซ์ ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกลุ่มเจเนอเรชัน วาย และ เจเนอเรชัน แซด พบว่า มีพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ตามตารางออกอากาศคู่ขนานไปกับการรับชมแบบย้อนหลัง/ ตามความ ต้องการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์โดยสถานีส่งสัญญาณภาพออกอากาศ จะมีฐานผู้รับชมเป็นคนช่วงวัยตั้งแต่อายุ 42 ปีขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของผู้รับสารทั่วโลก ที่ระบุว่าโทรทัศน์ คือ พื้นที่ของประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป สำหรับการรับชมแบบย้อนหลัง หรือการรับชมรายการตามความต้องการ (ออนดีมานด์) ไม่ว่าจะผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านแอปพลิเคชั่น จากทั้งสถานีโทรทัศน์และสื่อสังคมออนไลน์ จะพบว่า กลุ่มเจเนอเรชัน แซด มีสัดส่วนการ รับชมย้อนหลังสูงกว่าการรับชมตามตารางการออกอากาศ ซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรมการเป็นชาวดิจิตอลโดยกำเนิด (Digital Native) โดยที่การรับสารของคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มรับข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น อย่างชัดเจน

ความสัมพันธ์ของกลุ่มอายุกับการรับชมรายการโทรทัศน์

พฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ตามช่วงอายุนั้น ผลการวิจัยสะท้อนว่า ทุกช่วงอายุมีการเปิดรับชมรายการ โทรทัศน์ อย่างไรก็ดี พบว่า กลุ่มเจเนอเรชัน เอกซ์ มีการรับชมรายการโทรทัศน์ทั้งรายการปกติและผ่านอินเทอร์เน็ต สูงที่สุด 90.5% ส่วนอีก 2 กลุ่มอายุ คือ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และกลุ่มเจเนอเรชัน จี.ไอ. มีการรับชมสูงเป็นอันดับ ถัดมา คือ 89.1% และ 88.6% ตามลำดับ ส่วนกลุ่มเจเนอเรชัน วาย อยู่ที่ 86% และต่ำที่สุดคือ กลุ่มเจเนอเรชัน แซด 78.9%

กลุ่มอายุกับประเภทรายการโทรทัศน์

จากผลการศึกษา พบว่า ประเภทรายการข่าว รายการละคร/ซีรีส์ และรายการวาไรตี้ เป็นประเภทรายการ โทรทัศน์ 3 อันดับแรก ที่กลุ่มเจเนอเรชัน จี.ไอ. กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ กลุ่มเจเนอเรชัน เอกซ์ และกลุ่มเจเนอเรชัน วาย นิยมรับชม โดยรายการโทรทัศน์ประเภทรายการข่าวได้รับความนิยมมากที่สุด ตามมาด้วยรายการละคร/ ซีรีส์ รายการวาไรตี้ ส่วนกลุ่มเจเนอเรชัน แซด นิยมรายการโทรทัศน์ประเภทรายการละคร/ซีรีส์ มากที่สุด 16.8% รองลงมาคือ รายการวาไรตี้ 16.3% และรายการภาพยนตร์ 15.5%

จากผลการศึกษาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า พฤติกรรมการบริโภคสื่อในประเทศไทยมีความแตกต่างกันอย่าง ชัดเจนระหว่างคนกลุ่มอายุต่างกัน ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ 57 ปีขึ้นไป (กลุ่มเจเนอเรชันเบบี้ บูมเมอร์ และกลุ่มเจเนอเรชัน จี.ไอ.) กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ (กลุ่มเจเนอเรชัน วาย และ แซด) โดยมีกลุ่มเจเนอเรชัน เอกซ์เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรม คาบเกี่ยวระหว่างทั้งสองกลุ่มข้างต้น ทั้งนี้ กลุ่มที่มีอายุ 57 ปีขึ้นไปโดยรวมยังบริโภคสื่อในรูปแบบดั้งเดิมค่อนข้าง มาก อาทิ การรับชมรายการโทรทัศน์สดตามตารางออกอากาศ/ผังรายการ ในขณะที่กลุ่มคนรุ่นใหม่มีการบริโภคสื่อ หลากหลายช่องทางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคสื่อแบบออนดีมานด์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ความแตก ต่างดังกล่าวทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเจเนอเรชัน (Generation Divide) ซึ่งส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) และความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ (Digital Divide) ขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 🖥 https://bit.ly/2CUIvei

Tagged