ภาพรวมรายได้ดิจิตอลทีวี 22 ช่อง ปี 2562

ผลประกอบการ รายได้ทีวีดิจิทัล

ที่มา : https://bit.ly/2EJoThk

ปี 2562 ปีท่ี 6 ของการประกอบกิจการดิจิตอลทีวี เร่ิมต้นปีโดยมีผู้ประกอบการช่องดิจิตอลทีวี ภาคธุรกิจจําานวน 22 ช่อง และช่องสาธารณะ 4 ช่อง แต่ด้วยสภาพปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ที่มี ผลกระทบต่อรายได้จากค่าโฆษณาของธุรกิจดิจิตอลทีวีอย่างมาก อีกท้ังสภาพการแข่งขันระหว่าง ผู้ประกอบการสงู จนภาครัฐเปิดทางให้ผู้ประกอบการดิจิตอลทวี ขอคืนใบอนญุาตได้มีผู้ประกอบการ ขอคืนใบอนุญาตท้ังหมด 7 ช่อง จนเหลือผู้ประกอบการดิจิตอลทีวีภาคธุรกิจเพียง 15 ช่องเท่านั้น

สำหรับรายได้จากการประกอบกิจการของดิจิตอลทวีภาคธรุกิจ ทั้งหมด 22 ช่องของปี 2562 นี้จะเป็นรายได้จากการประกอบกจิ การทั้งปีจำนวน 15 ช่อง ส่วนรายได้ของ 7 ช่องที่ขอคืนใบอนญุาตน้ันเป็นรายได้จากการออกอากาศจนถึงช่วงยุติการออกอากาศในเครือข่ายดิจิติอลทีวี โดยช่องสปริงนิวส์ ช่อง Bright TV และช่อง Spring26 ออกอากาศวันสุดท้ายในวันท่ี 15 สิงหาคม 2562 ช่อง Voice TV ออกอากาศวันสุดท้ายในวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ช่อง MCOT Family ออกอากาศวันสุดท้าย วันที่ 15 กันยายน 2562 และอีก 2 ช่องของกลุ่มช่อง 3 ได้แก่ ช่อง 3SD และช่อง 3 Family ออกอากาศ วันสุดท้ายวันที่ 30 กันยายน 2562

ข้อมูลรายได้จากการประกอบกิจการดิจิตอลทีวีของ 22 ช่องทีวีภาคธุรกิจ ปี 2562 ที่รายงาน ต่อสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สํานักงาน กสทช.) เพื่อนํามาประเมินจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับ สํานักงาน กสทช. มีรายได้รวมทุกช่องอยู่ที่ 19,060.96 ล้านบาท ลดลง 6.62% จากปี 2561 ที่มีรายได้รวมกันอยู่ที่ 20,412.98 ล้านบาท และคิดเป็น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รวม 90 ล้านบาท ลดลง 8.16% จากปี 2561 ที่สํานักงาน กสทช. ได้ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรวม 98 ล้านบาท

ช่องที่มีรายได้สูงสุดในปี 2562 ได้แก่ ช่อง 7HD ของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด แจ้งรายได้รวมทั้งปีจำนวน 3,921ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่ารายได้ปี 2561 ซึ่งมีรายได้จำนวน4,594 ล้านบาท ลดลง 14.67% อย่างไรก็ตามผลงานของช่อง 7HD ยังเป็นช่องดิจิตอลทีวีที่มีรายได้สูงเป็น อันดับ 1 มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา

อันดับ 2 เป็นของช่อง One โดยบริษัท วัน สามสิบเอ็ด จําากัด เป็นช่องที่มีผลงานรายได้ เติบโตสูงที่สุดของปี 2562 มีรายได้รวม 2,089 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 28.79% จากปี 2561 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,622 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในอันดับ 5

อันดับ 3 บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จําากัด หรือช่องเวิร์คพอยท์ ทีวี ที่เคยมีรายได้อันดับ 2 ในปี 2561 จำ นวน 2,626 ล้านบาท แต่ในปี 2562 รายได้ลดลง 29.70% เหลือ เพียง 1,846 ล้านบาท ในขณะที่ช่อง Mono บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จําากัด เป็นอีกช่องที่มีรายได้ลดลง 6.71% จาก 1,818 ล้านบาท หรือ ในปี 2561 มาอยู่ที่ 1,696 ล้านบาท ในปี 2562

ส่วนบริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จําากัด ซึ่งเป็นผู้ถือใบอนุญาต 3 ช่องดิจิตอลทีวีนั้น รายงาน รายได้ในส่วนของช่อง 3HD มีรายได้อยู่ที่อันดับ 4 โดยยังคงเป็นการรายงานรายได้แบบคงที่ ประจําาปีไว้ที่ปีละ 1,800 ล้านบาทเช่นเดิม เนื่องจากเป็นการออกอากาศคู่ขนานกับช่อง 3 แอนะล็อก รายได้ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ช่อง 3 แอนะล็อก ซึ่งสัญญาสัมปทานสิ้นสุดในวันที่ 25 มีนาคม 2563 จึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายได้ของช่อง 3HD ในปี 2563 เป็นต้นไป

ทั้งนี้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จําากัด ช่อง 3 แอนะล็อก ได้รายงานรายได้ของ กิจการแอนะล็อกทีวีในปี 2562 ว่ามีรายได้รวม 5,024 ล้านบาท ลดลง 13.33% จากปี 2561 ที่มีรายได้รวม 5,796.05 ล้านบาท โดยมีผลประกอบการปี 2562 ขาดทุน 866.42 ล้านบาท ลดลง จากยอดขาดทุน 969.10 ล้านบาท ในปี 2561

อันดับ 6 บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จําากัด หรือช่อง 8 รายได้ปี 2562 ลดลง 10.39% จาก 1,397 ล้านบาทในปี 2561 มาอยู่ที่ 1,251 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีที่ บริษัท อาร์เอส จําากัด (มหาชน) บริษัทแม่ของช่อง 8 ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ย้ายหมวดธุรกิจจาก หมวดธุรกิจสื่อ และสิ่งพิมพ์ เป็นห มวด ธุรกิจพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสัดส่ว นรายได้และนโยบายในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ที่เน้นหารายได้จากการขายสินค้า ผ่านช่องทาง TV Shopping และช่องทางสื่ออื่นๆรวมถึงช่องทางออนไลน์

บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จําากัด ช่อง ไทยรัฐทีวี และ บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จําากัด ช่อง AMARIN TV HD ซึ่งเป็น2 ช่องดิจิ ตอลทีวีเน้นคอนเทนต์ ข่าว มีการเติบ โตในแง่รายได้ทั้ง2 ช่อง โดยช่องไทยรัฐทีวีรายได้เพิ่มขึ้น 27.75% มีรายได้รวม 1,174 ล้านบาท และช่อง AMARIN TV HD มีรายได้เพิ่มขึ้น 9.98% รายได้รวมอยู่ที่ 981 ล้านบาท

อันดับ 9 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จําากัด ช่อง GMM25 และอันดับ 10 บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จําากัด ช่อง True4U มีรายได้ลดลงทั้ง 2 ช่อง โดยช่อง GMM25 มีรายได้รวม 634 ล้านบาท ลดลง 0.78% และช่อง True4U รายได้ 585 ล้านบาท ลดลง 23.53%

หากเปรียบเทียบข้อมูลการวัดความนิยมผู้ชมของช่องดิจิตอลทีวีวัดโดยนีลเส็นประเทศไทย ในปี 2562 พบว่า อันดับเรตติ้งช่องมีความสัมพันธ์กับรายได้จากการประกอบกิจการของช่องพอสมควร เริ่มจากช่อง 7HD ได้เรตติ้งอันดับ 1 และมีรายได้จากการประกอบกิจการมากที่สุด แต่กรณีช่อง 3HD เนื่องจากเป็นการออกอากาศคู่ขนานกับช่อง 3 แอนะล็อกรายได้ที่แสดงเป็นเฉพาะรายได้จากกิจการดิจิตอลทีวีจึงไม่ได้สะท้อนรายได้รวมทั้งหมด

ส่วนช่อง One เป็นช่องที่ปี 2562 ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เรตติ้งเพิ่มจากปี 2561 ที่มี เรตติ้งเฉลี่ย 0.527 เป็น 0.595 โดยมีผลงานเด่นจากรายการที่ออกอากาศในช่วงไพรม์ไทม์ ช่วงเวลา 18.00-20.00. ทำให้สามารถสร้างรายได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในขณะที่ช่อง Mono 29 เรตติ้งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2561 และช่องเวิร์คพอยท์ ทีวี เรตติ้งลดลงมีผลทําให้รายได้ของทั้ง 2 ช่องลดลงด้วยเช่นกัน

สําาหรับช่องไทยรัฐทีวี และช่อง AMARIN TV HD มีรายการข่าวที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น เรตติ้งเพิ่มข้ึนทั้ง 2 ช่อง โดยช่องไทยรัฐทีวี เรตติ้งปี 2561 อยู่ที่ 0.410 ขึ้นเป็น 0.448 และช่อง AMARIN TV HD จากเรตติ้ง 0.313 ขึ้นเป็น 0.355 จึงสะท้อนรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้ง 2 ช่องเช่นกัน ทั้งนี้ รวมถึงช่อง Nation TV ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น โดยมีเรตติ้งเพิ่มขึ้นจาก 0.121 เป็น 0.192 และมี รายได้ของปี 2562 สูงขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตามมี 2 ช่อง ที่มีรายได้สูง แม้ว่าจะมีเรตติ้งไม่สูงมากนัก ได้แก่ ช่อง True4U และช่อง TNN ซึ่งเป็นสองช่องในกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จําากัด (มหาชน) มีรายได้อยู่ที่ 585 ล้านบาท และ 469 ล้านบาทตามลําาดับ โดยรายได้จากค่าโฆษณาส่วนใหญ่ของทั้ง 2 ช่องมาจากสินค้าที่มีอยู่หลากหลายจากกลุ่มบริษัททรูฯเป็นหลัก

Tagged