เรื่องย่อ รถรางเที่ยวสุดท้าย

เรื่องย่อละคร ไทยพีบีเอส

นที เด็กหนุ่มวัย 27 กำลังตามหาความฝันที่อยากจะเป็นคนเขียนบทภาพยนตร์ เขาได้ชวน ภารดร เพื่อนสนิทวัยเดียวกันให้มาร่วมเขียนบทด้วยกัน นทีได้แรงบันดาลใจการเขียนบทมาจากบทกลอนที่แขวนเรียงรายอยู่ในร้านอาหารที่ชื่อ รถราง บทกลอนเหล่านี้เขียนขึ้นโดยเจ้าของร้านที่ชื่ออารักษ์ เมื่อนทีได้ทำความรู้จักกับอารักษ์มากขึ้นก็ทำให้ล่วงรู้เรื่องราวส่วนตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ภราดรสุ่มหาชื่อของบริพัตรผ่านโซเชียลมีเดีย เขาทักไปพร้อมข้อความที่เกี่ยวข้องกับมุกดา ไม่นานนักบริพัตรก็ตอบกลับมาทันที พวกเขานัดให้บริพัตรมาพบกันที่ร้านอาหารรถรางแห่งนี้ อารักษ์กลับมาจากตลาด เขาเข้ามาในร้าน อารักษ์หันไปสบตาบริพัตรครู่ใหญ่ถึงจำได้ว่าเขาคือเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก นทีและภราดรได้รับรู้ว่ารักแรกของอารักษ์นั้นเริ่มต้นขึ้นในวันที่รถรางวิ่งเป็นวันสุดท้าย บนรถรางเที่ยวสุดท้ายวันนั้น อารักษ์และเพื่อนสนิทที่ชื่อ บริพัตร และพวกเขาทั้งสองกลับตกหลุมรักหญิงสาวคนเดียวกันที่ชื่อ มุกดา หลังจากวันนั้นเรื่องราวรักสามเส้าก็ได้เริ่มต้นขึ้น 

อารักษ์ทำอาหารสุดฝีมือเพื่อเลี้ยงเพื่อนรักของเขา พวกเขาได้รำลึกถึงความหลังกัน อารักษ์ชวนให้บริพัตรมาอยู่ที่คอนโดของตนเอง และไปเที่ยวเล่นในย่านโรงเรียนเก่าของทั้งสองก่อนจะมีบทสนทนาที่สะกิดบาดแผลเกี่ยวกับมุกดาลึก ๆ ในใจ ทำให้ทั้ง 2 คน ทะเลาะกันอีกครั้งหนึ่ง นทีและภราดรมีโอกาสสัมภาษณ์บุหงา ภรรยาของอารักษ์ที่เล่าเรื่องราวในอดีตที่อารักษ์มาช่วยชีวิตตัวเองไว้ ทำให้เธอตัดสินใจย้ายเข้ามาอยู่บ้านและเป็นภรรยาของอารักษ์ โดยมีลูกสาวชื่อซอแก้วตามติดมาด้วย ซอแก้วมาช่วยงานในร้านอาหารแห่งนี้ แต่ลึก ๆ แล้วซอแก้วจะทำตามความฝันของตัวเองที่อยากเป็นนักร้องมากกว่า แต่เธอตั้งใจอยากทำให้สำเร็จ บุหงาก็เอาใจช่วยในเส้นทางที่ลูกเลือก ถึงแม้ว่าจะขัดกับคำสั่งของอารักษ์ ทำให้ครอบครัวนี้มีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง

บทหนังที่เป็นรักสามเส้าเหมือนถูกทับซ้อนด้วยเรื่องจริงของนที ภราดร และ ซอแก้ว เพราะซอแก้วหลงรักนที และภารดรหลงรักซอแก้ว แต่นทีไม่ได้คิดกับซอแก้วแบบแฟนสาว แม่ของซอแก้วชื่อ บุหงา เป็นแม่ครัวของร้านอาหารรถราง และเป็นเมียคนที่สองของอารักษ์ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสหรือพิธีแต่งงานแต่อย่างใด ซอแก้วไม่ชอบอารักษ์และไม่ยอมเรียกเขาว่าพ่อ เธอหาทางที่จะพาแม่ออกไปจากชีวิตของ อารักษ์ตลอดเวลา รวมถึงการเปลี่ยนช่วงเวลาของร้านอาหารที่ก้าวเข้าสู่ยุคปัจจุบัน ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นทับซ้อนกันระหว่างช่วงรอยต่อของคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ทุกคนรอบตัวอารักษ์ต้องมีส่วนร่วมในการสร้างร้านนี้ขึ้นมาใหม่ แต่อารักษ์ยังลังเลที่จะให้คนรุ่นลูก มีส่วนร่วมในการบูรณะร้านรถรางแห่งนี้ ทุกคนล้วนต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง อารักษ์ต้องยอมรับความจริง และยังต้องยอมรับด้วยว่าอดีตก็ไม่ได้มีแต่เรื่องงดงามอย่างที่อารักษ์ต้องการให้นทีและภราดรเขียนไว้ในบทภาพยนตร์

เปลี่ยนแปลงเพื่อเริ่มต้นใหม่ ต่างยุค ต่างวัย แต่ใจไม่ต่างกัน ติดตามรับชม “รถรางเที่ยวสุดท้าย” ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 20.30 เริ่ม 10 กุมภาพันธ์ นี้ ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 

 

Tagged